วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของหมอลำ






ประวัติหมอลำ
      การลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท...



 
แคน...เครื่องดนตรีที่ใช้ไนการบรรเลงการขับร้องหมอลำ


             ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 – 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า “หมอลำหมู่” ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2510
 
 
 
หมอลำหมู่ หรือหมอลำ ที่ใช้ผู้แสดงหลายคนในการร้องลำทำการแสดง...

หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย
คำว่า “ลำ” มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า กลอนลำ
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า “หมอลำ”

 
หมอแคน ผู้ที่บรรเลงดนตรีในการขับร้องหมอลำ ซึ่งมีความสำคัญมาก และขาดหมอแคนไม่ได้ในการร้องหมอลำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น