วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หมอลำที่มีชื่อเสียงอีกวงหนึ่งของภาคอีสาน>>ประถมบันเทิงศิลป์

       ประถมบันเทิงศิลป์ เป็นวงหมอลำที่มีชื่่อเสียงโด่งดังอีกวงหนึ่งของถาคอีสาน ประเภทหมอลำเรื่องต่อกลอนหรือหมอลำหมู่ ซึ่งมีความอลังการของการแสดงมาก ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การห้อยโหนตัวของนักแสดง ไฟ แสง สี เสียง และเอฟเฟคต่างๆ ซึ่งถ้านับจำนวนสมาชิกในทุกฝ่ายในวงแล้วก็จะมีไม่ต่ำกว่า 300 กว่าชีวิต กับข้าว กับน้ำนั้นต้องเตรียมมาก ข้าวต้องใช้มากกว่า 10 กระสอบจึงจะพอกิน ด้วยเหตุนี้ราคาที่ว่าจ้างกันก็เลยมีราคาที่สูงพอสมควร
     และในวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ได้มาทำการแสดงที่ วัดโพธิ์ชัย บ้านโพนแดง ตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เนื่องในงานฉลองอุโบสถ ฝังลูกนิมิต และได้ทำการแสดงจนรุ่งเช้าของวันอาทิตย์ สนุกสนานมากครับ...

 

บรรยากาศในตอนเย็น..กำลังตั้งเวทีและการเตรียมความพร้อมในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น ไฟ แสง สี เสียงต่างๆ

       

ความพร้อมของเครื่องเสียง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก...และต้องใช้คอนวอยหรือคนงานที่มีความชำนาญมากในการตั้งเวที/เครื่องเสียงและประดับไฟ แสงสีเพื่อความสวยงาม และความอลังการของการแสดง..ครับ 
 
                                                       ได้เวลาของการแสดงหมอลำเรื่อง...แล้วครับ))

 

            การแสดงหมอลำในตอนกลางคืนครับ...บรรยากาศดีมาก และสนุกสนานมากครับ))


 


 

                              ดูหมอลำจนหลับเลยครับ....แต่ก็ตื่นขึ้นมาดูอีกจนรุ่งเช้าเลยครับ))
 

 
 
 





 
                       
 

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเภทของหมอลำ

หมอลำ

      หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง คำว่า “หมอลำ” มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ “หมอ” หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ “ลำ” หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง

 

                      



หมอลำกลอน

……หมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้
……ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบันได้วิวัฒนการมาเป็นหมอลำซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมในปัจจุบัน

 
หมอลำกลอนในสมัยก่อนๆ ..
 
 
                                    *********************************************

หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน

หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน
  เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงมีอุปกรณืประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมีเครื่องดนตรีประกอบแต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ


…………ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่งโดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง
(หมอลำ) มาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟู มากที่สุดคณะหมอลำดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และอุบลราชธานี


…………หมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอนลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธิ์ มหาสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น




                           ***********************************************

หมอลำกลอนซิ่งหรือหมอลำซิ่ง

หมอลำกลอนซิ่ง
  ..หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบแคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยม ปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกน คีย์บอร์ดมาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากลเพลงสตริงเพลงลูกทุ่ง ที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วย

 
หมอลำบัวผัน ทังโสและหมอลำศรีจันทร์  วีสี
เป็นหมอลำที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
 
 
 
 

    ลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

 
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงหมอลำซิ่ง
คีย์บอร์ด...เบส
 
 
กีตาร์ใช้ 2 ตัว หน้าที่คือใชโสโล และจับคอร์ดไปตามเพลงที่เล่น
 
 
กลองชุด หน้าที่ใช้คุมจังหวะเพลง
 
 
มือแซ็กโซโฟน..
 
 

      หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยมอีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ
รูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก



โดยมี หมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้าง ๆเพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเอง ซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย
การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ


 
รูปแบบหมอลำซิ่งในปัจจุบัน...มีหมอลำฝ่ายชาย 1 คนและ หมอลำฝ่ายหญิงอีก 1 คน อาจมีหมอแคนด้วยหรือไม่ก็ได้แล้วแต่การว่าจ้างไม่ก็ความสะดวกของงการทำการแสดง..

 
การแต่งตัวของหมอลำซิ่งนั้น อาจจะแต่งตัวในลักษณะที่ นุ่งสั้นๆ เขินๆ โชว์ขานิดๆน่อยๆ เพื่อความทันสมัยของการแสดงหมอลำซิ่ง....ในปัจจุบัน)))


                                  
                                    ********************************************

ประวัติของหมอลำ






ประวัติหมอลำ
      การลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท...



 
แคน...เครื่องดนตรีที่ใช้ไนการบรรเลงการขับร้องหมอลำ


             ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 – 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า “หมอลำหมู่” ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2510
 
 
 
หมอลำหมู่ หรือหมอลำ ที่ใช้ผู้แสดงหลายคนในการร้องลำทำการแสดง...

หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย
คำว่า “ลำ” มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า กลอนลำ
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า “หมอลำ”

 
หมอแคน ผู้ที่บรรเลงดนตรีในการขับร้องหมอลำ ซึ่งมีความสำคัญมาก และขาดหมอแคนไม่ได้ในการร้องหมอลำ

ศิลปินผู้มีความสามารถในการขับร้องหมอลำ

                                                            
                                                                       
                                                                       นายเคน   ดาเหลา



ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔



นายเคน ดาเหลา      เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศิลปินหมอลำอาวุโสชั้นครูระดับแนวหน้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีลีลาการลำและน้ำเสียงที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง ด้วยการใช้ปฎิภาณไหวพริบโต้ตอบ ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลอนลำของท่านสมบูรณ์แบบด้วยทำนองแบบอุบลราชธานีที่เรียกว่า “วาดอุบล” ซึ่งมีลีลาการลำการใช้สำนวณกลอนที่เฉียบคมลึกซึ้งน่าประทับใจ เป็นต้นแบบของการลำแม่บท ๓๒ ท่าของอีสาน ทั้งลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ยแบบต่างๆ รวมถึงสำนวนผญาแบบอีสานที่มีคารมคมคายไพเราะน่าฟัง มีมุขตลกและคติสอนใจ ได้บันทึกแผ่นเสียงออกเผยแพร่ จนได้รับการขนานนามว่า “ราชาแผ่นเสียงทองคำ” ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ด้านหมอลำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้อุทิศตนด้วยการใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการแสดงสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมและสังคมมาโดยตลอด


คำประกาศเกียรติคุณ  

      นายเคน ดาหลา หรือที่รู้จักกันดีในหมู่คนอีสานว่า หมอลำเคน ฮุด เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศิลปินหมอลำอาวุโสของภาคอีสาน มีลีลาการลำและศิลปะการใช้น้ำเสียงเป็นที่ประทับใจคนฟังได้อย่างดียิ่งเป็นผู้มีปฏิภาณเป็นเลิศในเชิงกลอนลำสด มีคารมคมคาย ทั้งลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ยและลำเบ็ดเตล็ดอื่นๆ รวมถึงสำนวนผญาแบบอีสาน สำนวนกลอนนอกจากจะเฉียบคมลึกถึงใจผู้ฟังแล้วยังประกอบไปด้วยสาระที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในบรรดาศิลปินหมอลำอาวุโสของภาคอีสานเป็นหมอลำชั้นครูและเป็นต้นแบบของการแต่งกลอนลำและลำแม่บทที่เรียกว่า “ลำแม่บท ๓๒ ท่า" ได้สมบูรณ์แบบที่สุด เป็นศิลปินผู้ได้รับการยอมรับในวงการหมอลำทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังได้ไปเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ในต่างประเทศและเป็นศิลปินผู้อุทิศตนเพื่อสังคมด้วยดีตลอดมา

นายเคน ดาหลา จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔




การศึกษา
ประถมศึกษาปีที่๔ โรงเรียนบ้านหนองเต่า

รางวัล & เกียรติคุณ
    ปีที่ได้รับ ชื่อรางวัล หน่วยงานที่มอบ
๒๕๓๑ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๒๕๓๔ รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(หมอลำ) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๒๕๓๕ พระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ



ศิลปินผู้มีความสามารถในการขับร้องหมอลำ

 
                                                                    ฉวีวรรน   ดำเนิน
                                                                   
                      ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2536

   นางฉวีวรรณ ดำเนิน เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชินีหมอลำ ที่มีความสามารถโดดเด่น มีไหวพริบปฏิภาณด้านหมอลำที่เฉียบแหลมยิ่งคนหนึ่ง โดยได้รับการฝึกฝนเรื่องหมอลำจากบิดา ญาติ และหมอลำที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตหลายท่าน ซึ่งความจัดเจนเรื่องหมดลำที่ฝึกฝนมาตั้งแต่อายุยังน ้อย ทำให้เป็นหมอลำที่มีความสามารถสูงทั้งด้านการแต่ง กลอนลำ การคิดท่วงทำนองหมอลำกลอน เขียนกลอดลำ ประดิษฐ์ท่าลำและบทร้องชุดแม่อีสาน 48 ท่า ประกอบกับบุคคลที่มีน้ำเสียงไพเราะ มีพลังทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของแด นอีสานและได้รับการกล่าวขานด้วยความชื่นชมจากประชาชน ว่าเป็นราชินีหมอลำ
นางฉวีวรรณ พันธุ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2536





การศึกษา 
   จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองไหล ต.สร้างคอน้อย อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 6 ต.สร้างคอน้อย อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี
ที่ทำงาน วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร.(043) 511244
บิดา มารดา บิดาชื่อ นายชาลี ดำเนิน อาชีพทำนา มารดาชื่อ นางแก้ว ดำเนิน อาชีพทำนา
ครอบครัว สามีชื่อ นายโกมินทร์ พันธุ มีบุตร 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน






รางวัลและการเชิดชูเกียรติ
1.โล่ชนะเลิศการประกวดหมอลำงานเจ้าพ่อพระยาแล ชัยภูมิ ในปี พ.ศ.2514
2. ชนะเลิศการประกวดหมอลำทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ปี พ.ศ. 2522
3. เกียรติบัตรจากศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงโตเกียว ชุดรำแม่บทอีสาน 48 ท่า พ.ศ.2527
4. โล่ศิลปินดีเด่นของภาคอีสานจาก พณฯ นายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.2528
5. โล่เกียรติคุณตณะส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รางวัลดีเด่นในการผลิตสื่อมวลชชนดีเด่น เพื่อเยาวชน
ประเภทสื่อชาวบ้าน พ.ศ.2529
6. โล่เกียรติคุณจากสาธารณสุข โครงการอีสานไม่กินปลาดิบ ปี พ.ศ.2532-2535
7. ถ้วยเกียรติยศการประกวดหมอลำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโล ยีและพลังงาน
ปี พ.ศ.2533
8. เกียรติบัติจาก C.L.OF.F. งานมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้านเอเซีย ครั้งที่ 3 ในประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2535

ศิลปินผู้มีความสามารถในการขับร้องงหมอลำ

 
อังคนางค์ คุณไชย
ศิลปินพื้นบ้านอีสาน สาขา ศิลปะการแสดง
 
 
     ศิลปินหมอลำที่มีผลงานมากมายอีกคนหนึ่ง ได้บันทึกแผ่นเสียงทั้งเพลงลูกทุ่ง หมอลำ และการลำเรื่องต่อกลอน

ประวัติ :
นางอังคนางค์ คุณไชย เกิดเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธุ์ 2499 ณ อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี (อำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) เริ่มการศึกษาเบื้องต้นระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านโคกสารเทิง ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยสอบได้ที่ 1 ของทุกชั้นเรียน

    ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 152 หมู่ 8 ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ โทรศัพท์ 08-9029-0226





รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ :
  • ชนะเลิศการประกวดหมอลำเรื่องต่อกลอน
  • รับโล่เชิดชูเกียรติเป็นสุดยอดศิลปินพื้นบ้านอีสาน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รับโล่เชิดชูเกียรติคุณ เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดอำนาจเจริญ สาขาศิลปะกรรมการแสดงพื้นบ้าน จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • รับโล่รางวัลเกียรติบัตรด้านศิลปะพื้นบ้านลำเรื่องต่อกลอน การแสดงเพลงลูกทุ่งอีสานจากหน่วยงานของราชการต่าง ๆ มากกว่า 30 รางวัล

รางวัลและการเชิดชูเกียรติ
  1. ร่วมแสดงศิลปะพื้นบ้านหมอลำจัดโดยหน่วยงานราชการหลายแห่ง
  2. ร่วมแสดงศิลปะพื้นบ้านลูกทุ่งอีสานในงานของจังหวัดและส่วนราชการหลายครั้ง
  3. แสดงศิลปะพื้นบ้านลูกทุ่งหมอลำ ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุหลายครั้ง
  4. เป็นวิทยากรรับเชิญให้ส่วนราชการในการถ่ายทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านจนถึงปัจจุบัน หลายครั้งและหลายหน่วยงาน
  5. ร่วมแสดงเผยแพร่ศิลปะการแสดงในต่างประเทศ เช่น สิงค์โปร์ เยอรมันนี ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส ออสเตรีย และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ

ศิลปินผู้มีความสามารถในการขับร้องหมอลำ

 
ป.ฉลาดน้อย   ส่งเสริม
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดงหมอลำ ปี 2548
 
ประวัติชีวิตและผลงาน
     ...นายฉลาด ส่งเสริม (ป. ฉลาดน้อย) ปัจจุบันอายุ 66 ปี เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สมรสกับนางสมบูรณ์ ส่งเสริม มีบุตร 3 คน คือ นายอติชาติ ส่งเสริม นางสาววาสนา ส่งเสริม และเด็กหญิงจารุวรรณ ส่งเสริม


 
 
    ...นายฉลาด ส่งเสริม เป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน ที่มีความโดดเด่นเป็นที่รู้จักในด้านน้ำเสียงที่ก้องกังวาลแจ่มใส คำร้องมีการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว ยากที่คนอื่นจะลอกเลียนแบบได้ โดยเฉพาะความสามารถแต่งกลอนลำทำนองเมืองอุบล จะนำเอาสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติตามท้องถิ่น เช่น ดิน ลม ฟ้า อากาศ ต้นไม้ มาแต่งเป็นกลอนลำ กลอนลำแต่ละกลอนจะมีคติสอนใจผู้ฟังอยู่เสมอ ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง และสามารถร้องหมอลำได้หลายประเภท ทั้งลำยาว ลำเพลิน ลำเรื่อง ลำต่อกลอน ผลงานเด่น ได้แก่ นางนกกระยางขาว ท้าวก่ำกาดำ พระเวสสันดรชาดก องคุลีมาลสำนึกบาป พุทธประวัติตอนสิทธัตถะกุมารออกบวช นางนกกระจอกน้อย ผาแดงนางไอ่ ลูกเขยไทยสะใภ้ลาว เพลงรักบุญบั้งไฟ เป็นต้น  

ได้รับรางวัลทองคำฝังเพชร ในการประกวดหมอลำเรื่องต่อกลอน เรื่อง "นางนกกระยางขาว" จากกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นสุดยอดศิลปินอีสาน ในวาระ 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายฉลาด ส่งเสริม จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พุทธศักราช 2548


 
ป.ฉลาดน้อย   ส่งเสริม
 
ขอบคุณครับ)))